มดแดง,มารู้จักมดแดงกัน

มดแดงส้ม
มดแดง เป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera  ในกลุ่มเดียวกับ ผึ้ง ต่อ และ แตน การเจริญเติบโต จะผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ มีวงจรชีวิต 4 ระยะ คือ  ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย   มดแดงส้ม จัดอยู่ในวงศ์ย่อย    Formicinae    สกุล   Oecophylla     ลักษณะเด่นของมดชนิดนี้  คือ  ส่วนเอวมี 1 ปล้อง  ส่วนของกราม ( mandible ) มีฟัน 10 ซี่  หนวดมีปล้องจำนวน 12 ปล้อง ส่วนท้องยกขึ้นเหนือส่วนอก ทั่วโลกพบมดในสกุล  Oecophylla    13  ชนิด ในประเทศไทยมีเพียงหนึ่งชนิด คือ  Oecophylla smaragdina   และมีชื่อสามัญว่า Weaver ants หรือ Green ants   ลักษณะเด่นของมดชนิดนี้ คือ มีขนาดใหญ่ และทำรังบนต้นไม้ แต่มีการสำรวจพบการทำรังในบ้านเรือนด้วยเช่นกัน   มดแดงส้มมีพฤติกรรมการสร้างรังที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มดจะต่อตัวโดยมดงานและใช้กรามคาบส่วนประกอบของร่างกายมดภายในรังด้วยกัน เพื่อดึงใบไม้มาชิดติดกัน และเชื่อมขอบใบไม้ภายในและภายนอกด้วยสารจากส่วนท้องของตัวอ่อนมด มาถักทอรังให้เชื่อมคิดกัน ลักษณะของใย  มีลักษณะคล้ายใยแมงมุม มดแดงส้ม เป็นสัตว์กินเนื้อ และอาจเสริมด้วยน้ำหวานจาก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น และผีเสื้อบางชนิด มดแดงส้มมีวรรณะภายในรังเช่นเดียวกับมดชนิดอื่นๆ คือ มี 3 วรรณะ คือ นางพญา  ( Queen )  ราชา ( King )  และ มดงาน  ( Workers )  มดงานยังแบ่งการทำหน้าที่แตกต่างกันตามขนาดที่ต่างกัน เช่น มดงานขนาดเล็ก มีหน้าที่ดูแลตัวอ่อนและไข่ มดงานขนาดย่อมมีหน้าที่ดูแลซ่อมแซมรังและหาอาหาร ส่วนมดแดงส้มขนาดใหญ่มีหน้าที่ หาอาหารและปกป้องรังจากผู้รุกราน  มดแดงส้มไม่มีเหล็กในเพื่อปกป้องจากศัตรู แต่พวกมันใช้วิธีกัดและฉีดสารที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ที่ชื่อ Formic acid มดจะฉีดสารนี้เพื่อขับไล่ศัตรู หรือฉีดเข้าใส่บาดแผลของศัตรูทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบสารนี้นอกจากมีค่าความเป็นกรดแล้วยังมีกลิ่นฉุน  ทำให้ศัตรูร่นถอย
        ในประเทศไทยมีการบริโภคตัวอ่อนดักแด้ และตัวเต็มวัยของมดแดงส้มมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจะใช้ชะลอมหรือกระบุงผูกติดปลายไม้ไผ่และแหย่ไปที่รัง ทำให้ตัวอ่อนและดักแด้ของมดงานร่วงลงภาชนะรองรับ จากนั้นจะใช้ไฟผามดงานเพื่อไม่ให้มดงานคาบตัวอ่อนและดักแด้หนีไปบริเวณอื่น มาถึงยุคปัจจุบัน ภาชนะพลาสติกที่มีคุณสมบัติ เบาและคงทนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ภาชนะสอยไข่มดแดงจึงเปลี่ยนจากการใช้กระบุงหรือชะลอม เป็นถังพลาสติก หรือ กระสอบพลาสติกผูกติดปลายไม้แทน และเปลี่ยนวีธีไล่มดงานป้องกันการคาบไข่หนีโดยการใช้ แป้งมันสำปะหลัง มดแดงจะไม่คาบไข่หนี นับเป็นภูมิปัญญาที่เป็นผลผลดี มดงานเหล่านั้นจะสามารถเข้าซ่อมแซมรังและดูแลนางพญาเพื่อผลิตไข่ชุดใหม่ต่อไป ฤดูร้อนเป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการสอยไข่มดแดง เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่นางพญาผลิตทายาท เพื่อขยายอาณาเขตประชากรของรัง พอถึงฤดูฝนอาหารในธรรมชาติมีมาก มดนางพญารองจะออกจับคู่ผสมพันธุ์เพื่อไปสร้างอาณาจักรใหม่ต่อไป

ไข่มดแดง
ไข่มดแดงจัดว่าเป็นอาหารตามฤดูกาล ในช่วงฤดูร้อน หรือประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อยไปจนถึงเดือนมิถุนายน โดยสามารถแบ่งไข่มดแดงออกไปเป็นสองชนิด คือ ไข่ผาก เป็นไข่ที่มดแดงออกมาเพื่อให้เจริญเติบโตเป็นตัวมดแดง จะมีลักษณะเล็ก ลีบ ฝ่อ ไม่เต่งตึง ส่วนใหญ่แล้วไข่ผากจะมีตลอดทั้งปี แต่ก็ไม่นิยมนำมาปรุงอาหาร เนื่องจากมีรสเปรี้ยว และเลือกไข่ออกจากแม่มดแดงได้ยาก ถ้านำมาปรุงอาหารก็จะใช้ใส่ต้มยำ หรือใส่อาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยว
ส่วน ไข่ใหญ่ หรือ ไข่มดแดง จะมีขนาดใหญ่เต่งตึง และมีน้ำในไข่มากกว่าไข่ผาก ไข่ใหญ่จะเจริญเติบโตออกมาเป็นแม่เป้ง ซึ่งเป็นมดแดงอีกแบบหนึ่งที่สามารถบินได้ เมื่อแม่เป้งโตเต็มที่แล้วก็จะออกไข่มาเป็นลูกมดแดง ไข่ใหญ่จะมีเฉพาะในฤดูร้อน เพราะเป็นช่วงที่มดแดงจะเร่งแพร่ขยายพันธุ์ รังมดแดงที่มีไข่ใหญ่ เต่งและตึงจะเริ่มมีไข่ตั้งแต่ช่วงปลายฤดูหนาวประมาณเดือน กุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 
            ไข่มดแดงสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายเมนู อย่างเช่น ทำไข่เจียวมดแดง ยำไข่มดแดง ต้มไข่มดดำกับหัวหอม หรือแกงกะทิสับปะรดมดแดง เป็นต้น ซึ่งไข่มดแดงนั้นก็มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีน ฟอสฟอรัส และแคลเซียม มีสรรพคุณทางยาช่วยระบายท้อง ช่วยให้เจริญอาหาร และเป็นอาหารบำรุงธาตุน้ำ แต่มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ ถ้าหากกินมากจะทำให้เกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง  ต้องรับประทานให้พอดีจึงจะดีต่อสุขภาพ

ศัตรูในธรรมชาติของมดแดง
 ศัตรูในธรรมชาติของมดแดงได้แก่
 
ด้วงดอกไม้ อกเหลืองแต้ม             ด้วงดอกไม้ อกเหลืองแต้ม  ด้วงดอกไม้อกเหลืองแต้ม หรือ ด้วงดอกไม้เสือดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Campsiura javanica - Gory & Percheron, 1833  ตัวอ่อนของด้วงดอกไม้เสือดำ อาศัยและหากินตามซากอินทรีวัตถุ หรือไม้ผุ เช่นเดียวกับ ตัวอ่อนของด้วงดอกไม้อื่นๆที่อยู่ในวงศ์ Cetoniinae ส่วนตัวเต็มวัย กินผลไม้สุก เกสรและ น้ำหวานจากดอกไม้ และตัวอ่อนของมดแดง ดังภาพ จะเห็นว่า มดงานแตกตื่น และคาบตัวอ่อน และไข่ กรูออกจากรัง แต่ไม่นาน ก็มีด้วงดอกไม้อีกตัวหนึ่งมากเกาะที่บริเวณใบไม้ที่รังมดแดงนั้น แต่ดูเหมือนว่า จะถูกมดแดงรุมกัดและลากเข้าไปในรัง แต่เมื่อฉีกรังเพื่อดูว่าเมื่อมดแดงนำเหยื่อเข้าไปในรังแล้วจะอยู่อย่างไร หรือดำเนินการต่อไปอย่างไรกลับพบว่ามีด้วงดอกไม้ชนิดเดียวกันกำลังกินตัวอ่อนของมดแดงอยู่ข้างในก่อนแล้ว และตัวที่เพิ่งถูกลากเข้าไป ก็กำลังสาละวนกับการกินเช่นเดียวกัน


หนอนของผีเสื้อมอธ
หนอนของผีเสื้อมอธ ( moth butterfly )  ซึ่งอยู่ในวงศ์ Lycaenidae  วงศ์ย่อย Lipharinae  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Liphyra brassolis  พบแพร่กระจายตั้งแต่ อินเดีย  ไทยพม่า มาเลเซีย ไปจนถึง ออสเตรเลีย  เป็นเสื้อขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับผีเสื้อในวงศ์เดียวกัน   ตัวอ่อนเป็นศัตรูที่สำคัญของมดแดงส้ม   เพศเมียจะหาที่วางไข่ที่เหมาะสมนั่นก็คือ บริเวณต้นไม้ที่มีรังมดแดงอยู่นั่นเอง  หนอนจะตามกลิ่นของฟีโรโมนของมดที่ติดอยู่บริเวณเส้นทางเดินของมดจากนั้นจะ เริ่มปล่อยฟีโรโมนเลียนแบบมด เพื่อแปลงกายเป็นสมาชิกภายในรัง จากนั้นจึงมุ่งหน้าเข้าสู่ห้องเก็บตัวอ่อนเพื่อกินตัวอ่อนมดเป็นอาหาร จนเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป


แมงมุมกระโดด
แมงมุมกระโดดในวงศ์ Saltisidae  ที่มีชื่อสามัญว่า Kerengga ant-like jumper  และชื่อวิทยาศาสตร์คือ  Myrmarachne plataleoides  เป็นแมงมุมที่กินมดแดงส้มเป็นอาหาร โดยการ ที่มันมีตารวม  ( compound eyes ) ที่มีประสิทธิภาพสูงมันจึงหลีกเลี่ยงจากการถูกมดโจมตี จากมดได้อย่างง่ายดาย จากนั้นจะเข้าไปขโมยตัวอ่อนของมดกินเป็นอาหาร และบางครั้งก็พบว่ามันโจมตีมดตัวเต็มวัยเป็นอาหารด้วยเช่นกัน

อาหารที่นิยมทำจากไข่มดแดง
  • ไข่เจียวไข่มด
  • แกงส้มไข่มดแดง
  • ก้อยไข่มดแดง
  • คลุกเกลือห่อใบตองย่างไฟ
  • ห่อหมกไข่คลุกไข่มดแดง                                     
  • เอาะไข่มดแดง
          หลังจากที่เรารู้เกี่ยวกับมดแดงไปพอสมควรแล้ว เราไปดูเมนูอาหารที่ได้จากไข่มดแดงกันเลยค่ะมีเมนู
 ก้อยไข่มดแดง ไข่เจียวไข่มดแดง และ แกงผักหวานใส่ไข่มดแดง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น